Saturday, February 8, 2014

The Study of Face-Negotiation in The Thai Corporation credit อาหารเสริม astaxanthin


การเจรจาในแง่หน้าตาทางสังคมในองค์การไทย (The Study of  Face-Negotiation in The Thai Corporation)

ที่มา
วิทยานิพนธ์ ของคุณเปรมฤทัย ปริสุทธกุล นักศึกษาปริญญาโท คณะภาษาและการสื่อสาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
วัตถุประสงค์ , astaxanthin
 เพื่อศึกษาถึงรูปแบบการบริหารความขัดแย้งในองค์กรไทยและความเข้าใจเรื่องหน้าตาของสังคม
สมมติฐาน
1.คนไทยมีวิธีการวางตัวระหว่างคนไทยด้วยกันในองค์กรแบบ วิธีการหลีกเลี่ยงปัญหา และ ยอมเพื่อให้อีกฝ่ายชนะไป
2.คนไทยควรกังวลกับภาพลักษณ์คนอื่นมากกว่าตนเอง , อาหารเสริม       
รูปแบบงานวิจัย , astaxanthin


เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ และคุณภาพ , astaxanthin ราคา


เครื่องมืองานวิจัย    
ผู้เข้าร่วมการวิจัย
            สำหรับข้อมูลการวิจัยจะรวบรวมมาจาก10 องค์กรในประเทศไทย ในแต่ละประเภทของธุรกิจ ทั้งขนาดเล็กและขนาดกลาง เช่น กราฟฟิกดีไซน์  ธุรกิจเสื้อผ้า ร้านอาหาร ร้านขายยา นายหน้า  และธุรกิจคอมพิวเตอร์ รวมทั้งสิ้น 100 คน นอกจากนี้ ยังได้แบ่งเป็นตำแหน่งต่างๆได้ดังนี้ หัวหน้า ผู้จัดการ ผู้ดูแล ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้จัดการทั่วไป  ฯลฯ
จำนวนผู้ชาย27 %  และผู้หญิง 73 % โดยแบ่งเป็นระดับการศึกษา ดังนี้
-                   4 % มีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
-                   63 % มีระดับการศึกษาปริญญาตรี
-                   14 % มีระดับการศึกษาอนุปริญญาตรี
-                   19 % มีระดับการศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี
อายุเฉลี่ยของผู้เข้าร่วมทำการวิจัยอยู่ที่ 30 .51 ปี  และ อายุเฉลี่ยการทำงานอยู่ที่ 4.65 ปี
*มีเพียง 7 % ของผู้เข้าร่วมทำการสำรวจทั้งหมด ที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศมากกว่าอยู่ที่ประเทศไทย โดยเฉลี่ยอยู่ในต่างประเทศประมาณ 8.21 เดือน**

วิธีการทำการวิจัย

1.      การวิจัยจะใช้แบบสอบถาม โดยประกอบไปด้วย 2 ส่วน
1.1 ในส่วนแรกจะเป็นการถามถึงข้อมูลทั่วไป เช่น เพศ อายุ การศึกษา บริษัท ตำแหน่ง อายุงาน และจำนวนอายุงานในต่างประเทศ
1.2 ส่วนที่สองจะมีทั้งหมด 28 หัวข้อ นักวิจัยจะจำลองสถานการณ์ขึ้นมาในแบบสอบถาม โดยใช้ค่าการประเมินแบบ ROCI-II  ซึ่งแบ่งได้ 5 ระดับดังนี้
1 ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
               2 ไม่เห็นด้วย
               3 เป็นกลาง
               4 เห็นด้วย
               5 เห็นด้วยอย่างยิ่ง 
นอกจากนี้ ยังมีหัวข้อที่นำมาใช้เลือกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ความขัดแย้ง การเจรจาไกล่เกลี่ยแบบบูรณาการ (Integrating) ในหัวข้อที่ 1,4,5,12,22,23,28  วิธีการเจรจาไกล่เกลี่ยแบบหลีกเลี่ยง(Avoiding) ในหัวข้อที่ 3,6,11,16,26,27  วิธีการเจรจาไกล่เกลี่ยแบบใช้อำนาจ(Dominating)  ในหัวข้อที่ 8,9,18,21,25  การเจรจาไกล่เกลี่ยแบบยินยอม(Obliging) ในหัวข้อที่ 2,10,13,17,19,24  และวิธีการเจรจาไกล่เกลี่ยแบบประนีประนอม (Compromising) ในหัวข้อที่ 7,14,15,20 รวมทั้งสิ้น 28 ข้อ

โดยผู้ทำการทดสอบจะถูกถาม แล้วจากนั้น จะทำให้รู้ว่ามีพฤติกรรมเช่นใด หลังจบที่ทำการทดสอบเรียบร้อยแล้ว ผู้ทำการทดสอบแต่ละคนสามารถให้สัมภาษณ์หรือไม่ก็ได้
             

2.      สำหรับระเบียบการให้สัมภาษณ์จะประกอบไปด้วย 5 คำถาม และเป็นการทดสอบเหตุการณ์ที่ไม่ได้เตรียมตัวขึ้นมา  เพื่อจะดูพฤติกรรมของผู้ให้สัมภาษณ์ โดยจะถูกถามถึงประสบการณ์ความขัดแย้งกับบุคคลอื่นๆ และเหตุผลว่าทำไมตนเองถึงใช้วิธีนั้น ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ในขณะเดียวกัน นักวิจัยก็จะสังเกตพฤติกรรมบนใบหน้าว่าเป็นอย่างไร

ผลการการวิจัย :
1.สมมติฐานที่ ในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ สามารถสรุปได้ดังนี้
การสำรวจลักษณะของการจัดการความขัดแย้ง เกี่ยวกับ ภาพลักษณ์หน้าตาของคนไทยนั้น ในองค์กรที่อยู่ในประเทศไทย ในเชิงปริมาณนั้นจะขัดแย้งกับสมมุติฐาน 1 ที่ว่า คนไทยจะใช้วิธีการเจรจาไกล่เกลี่ยแบบหลีกเลี่ยง(Avoiding) และการเจรจาไกล่เกลี่ยแบบยินยอม(Obliging) ในการจัดการปัญหามากกว่าอย่างอื่น แต่กลับกลายว่า คนไทยมีแนวโน้มที่จะใช้วิธีการเจรจาไกล่เกลี่ยแบบประนีประนอม (Compromising) และ การเจรจาไกล่เกลี่ยแบบบูรณาการ (Integrating) มากกว่าแบบอื่น    
2 .สมมุติฐานที่ 2 ผลการศึกษาพบว่า การที่คนไทยแสดงออกให้เห็นความสำคัญของภาพลักษณ์ของทั้ง2ฝ่าย  (Mutual-Face)  มากกว่าภาพลักษณ์หน้าตาของตนเอง (Self-Face)  ซึ่งไม่ตรงกับสมมติฐานในข้อที่  2 ที่ตั้งไว้ว่า คนไทยควรกังวลกับภาพลักษณ์คนอื่น (Other-Face) มากกว่าตนเอง (Self-Face)
3.สรุปผลจากการสัมภาษณ์  ผลออกมาค่อนข้างหลากหลายแบบ จากแบบสอบถาม 100 คน เชิญ 5คน มาร่วมให้สัมภาษณ์ สามารถสรุปถึงวิธีการจัดการกับสถานการณ์ความขัดแย้ง และการเจรจาในแง่หน้าตาทางสังคมดังนี้
ตัวอย่างผู้ถูกสัมภาษณ์คนที่ 1 : เพราะว่าเธอ ได้พูดว่า ฉันรู้สึกเกรงใจที่จะบอกให้เพื่อนร่วมงานทำงานชิ้นใหม่ แต่ฉันก็พยายามแทรกงานใหม่เข้าไปในงานเก่า ซึ่งทำให้เราพบกัน ครึ่งทาง
จากคำพูดนี้สรุปว่า เธอ ใช้วิธีการเจรจาไกล่เกลี่ยแบบประนีประนอม (Compromising) และ การเจรจาไกล่เกลี่ยแบบบูรณาการ (Integrating)   WIN WIN  แสดงให้เห็นว่า หล่อน กังวลกับภาพลักษณ์คนอื่น และ ภาพลักษณ์รวม มากกว่า ภาพลักษณ์ของตนเอง และ เธอยังบอกอีกว่า เธอจะไม่ทำให้ผู้อื่นขายหน้าในที่สาธารณะ

ตัวอย่างผู้ถูกสัมภาษณ์คนที่ 2 : เมื่อเจอสถานการณ์ตึงเครียดทำตัวเองให้ใจเย็น และยอมรับความคิดเห็นคนอื่นก่อน แล้วพอผู้อื่นอารมณ์เย็นแล้วค่อยอธิบายเหตุผลของตนใหม่
จึงสามารถสรุปได้ว่าคนที่ 2 นั้นได้สนับสุนน สมมุติฐานที่ 2 เช่นกัน กังวลกับภาพลักษณ์คนอื่น มากกว่า ภาพลักษณ์ของตนเอง  และคนคนที่ 2 เธอเลือกที่จะใช้วิธีการไกล่เกลี่ยแบบยินยอม (Obliging)  คือ ยอมให้อีกฝ่ายก่อน ในการจัดการปัญหา มุ่งเน้น รักษาความสัมพันธ์ 

ตัวอย่างผู้ถูกสัมภาษณ์คนที่ 3 : เมื่อคุยกับหัวหน้า ควรรักษาหน้าเค้า หลีกเลี่ยงการปะทะ และ ยอม ถ้าปัญหานั้นไม่สำคัญนัก
จึงสมารถสรุปได้ว่าคนที 3 ใช้วิธีการการเจรจาไกล่เกลี่ยแบบบูรณาการ (Integrating) , วิธีการเจรจาไกล่เกลี่ยแบบหลีกเลี่ยง(Avoiding) และการเจรจาไกล่เกลี่ยแบบยินยอม (Obliging)  เมื่ออีกฝ่ายอยู่ในฐานะที่สูงกว่า 

ตัวอย่างผู้ถูกสัมภาษณ์คนที่ 4 : ลูกน้องไม่เห็นด้วยกับไอเดียหัวหน้า เพราะคิดว่ามันไม่มีทางทำได้ แต่ท้ายสุดก็ต้อง ประนีประนอม เพราะมันไม่มีประโยชน์อะไรที่จะโต้แย้งกับหัวหน้าซึ่งยังไงเค้าก็ชนะอยู่ดี
จึงสามารถสรุปได้ว่าคนที่ 4 ใช้วิธีการเจรจาไกล่เกลี่ยแบบประนีประนอม (Compromising)

ตัวอย่างผู้ถูกสัมภาษณ์คนที่ 5: ฉันได้โต้เถียงกับหัวหน้า และได้อธิบายจุดยืนของฉัน ว่าหล่อนควรจะตรวจรายงานก่อนส่งลูกค้าทุกครั้ง ฉันไม่กลัวที่จะ มีปัญหาขัดแย้ง เพราะมันไม่ใช่ความผิดของฉัน แต่หล่อนคนนั้นไม่ฟังแถมยังตำหนิฉันอีก
จึงสามารถสรุปได้ว่าคนที่ 5 นั้น ขัดแย้งกับ สมมุติฐานที่ 2 เพราะ ว่า เธอใช้วิธีการเจรจาไกล่เกลี่ยแบบใช้อำนาจ(Dominating)  หรือเผด็จการ ในการแก้ปัญหา

การประยุกต์ใช้ทฤษฎี
  วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้นำทฤษฏี สื่อว่าด้วยการเจรจาต่อรองแบบรักษาหน้า (Face Negotiation Theory) มาประยุกต์ใช้โดยการ นำองค์ประกอบของทฤษฎีสื่อว่าด้วยการเจรจาต่อรองแบบรักษาหน้า (Face Negotiation Theory) มาใช้ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบของวัฒนธรรม ( Type of Culture) ,รูปแบบของพฤติกรรมการสื่อสารทางใบหน้าในแต่ละวัฒนธรรม รวมถึงวิธีการที่ใช้ในการเจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อลดความขัดแย้งและการรักษาภาพลักษณ์ทางสังคมในแต่ละวัฒนธรรม